หน่วยที่ 8





การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเรียนการสอน
แหล่งข้อมูลการสืบค้นบนเคลือข่ายอินเทอร์เน็ต
Search Engine ช่วยในการค้นหาได้อย่างรวดเร็วโดยทั่วไปSearch Engine แบ่งลักษณะรูปแบบการค้นหา เป็น 3 ลักษณะ คือ
1.  การค้นแบบนามานุกรม  (Directory)
หมายถึงการแจ้งแหล่งที่ตั้ง  ซึ่งบรรจุเนื้อหาหรือเว็บไซต์ต่างๆ ไว้เป็นหมวดหมู่หรือกลุ่มใหญ่ ๆ และแต่ละกลุ่ม
จะแบ่งเป็นเรื่องย่อยๆ ต่อไปเรื่อยๆ เหมือนกับหลักการจัดหมวดหมู่หนังสือในห้องสมุด  ซึ่งการจัดทำแบบนามานุกรม
นี้มีข้อดีคือ ช่วยให้ผู้ใช้ได้ข้อมูลที่ตรงกับความต้องการ เนื่องจากนำข้อมูลมาจัดหมวดหมู่ไว้อย่างเป็นระบบ
และสามารถกำหนดค้นได้ง่ายในหัวข้อโดยเลือกจากรายการที่ทำไว้แล้ว
เว็บไซต์ที่มีการจัดเรียงข้อมูลไว้แบบนามานุกรม เช่น www.yahoo.com , www.lycos.com ww.sanook.com, www.siamguru.com www.hotmail.com www.thaimail.com เป็นต้น
2.  การค้นหาแบบดรรชนี (Index)  หรือคำสำคัญ (Keywords)เป็นการค้นหาข้อมูลในลักษณะคำหรือวลี ข้อความต่างๆ ที่อาจจะเป็นคำสำคัญ ในการค้นหาลักษณะนี้ตัวโปรแกรมหรือเว็บไซต์จะมีเครื่องมือช่วยในการทำดรรชนีค้นที่เรียกว่า
Spider หรือ Robot หรือ Crawlerทำหน้าที่เช็คตามหน้าเว็บต่างๆของเว็บไซต์ที่มีการเปิดดูอยู่แล้วนำคำที่ค้นมา
จัดทำเป็นดรรชนีค้นหาโดยอัตโนมัติ ซึ่งการค้นแบบนี้จะสามารถค้นหาเว็บเพ็จใหม่ๆและทันสมัยมากกว่าการค้นแบบ
นามานุกรมแต่ทั้งนี้การสืบค้นแบบนี้จะต้องมีเทคนิควิธีการค้นเฉพาะด้านด้วย เช่น การใช้ตรรกบูลีน (Boolean Logic)
หรือโอเปอเรเตอร์ (Operator)  เป็นต้น  โดยวิธีการเช่นนี้จะมีความรวดเร็วมาก แต่มีความละเอียดในการจัดแยกหมวด
หมู่ของข้อมูลค่อนข้างน้อยเนื่องจากไม่ได้คำนึงถึงรายละเอียดของเนื้อหาเท่าที่ควร
3.  การค้นหาแบบ Metasearch Engines   จุดเด่นของการค้นหาด้วยวิธีการนี้ คือ สามารถเชื่อมโยงไปยัง
Search Engine ประเภทอื่นๆ และยังมีความหลากหลายของข้อมูล แต่การค้นหาด้วยวิธีนี้มีจุดด้อย คือ วิธีการนี้จะไม่ให้ความสำคัญกับขนาดเล็กใหญ่ของตัวอักษร และมักจะผ่านเลยคำประเภท Natural Language (ภาษาพูด)
ดังนั้น หากจะใช้ Search Engine แบบนี้ละก็ ขอให้ตระหนักถึงข้อบกพร่องเหล่านี้ด้วย
ในการค้นหาข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้น  เราสามารถค้นหาได้ใน 2 ลักษณะใหญ่ๆ คือ
1. การเข้าไปค้นหาในเว็บไซต์นั้นๆ โดยตรงเราทราบจากแหล่งข้อมูลนั้นๆอยู่แล้วว่าอยู่ที่URLอะไรหรือเว็บไซต์อะไร
วิธีการนี้มีข้อเสียเปรียบก็คือเราต้องทราบว่าข้อมูลที่ต้องการอยู่ที่เว็บไซต์ไหนหากเราไม่ทราบ ชื่อของเว็บไซต์หรือ URL
เราจะไม่สามารถเข้าถึงเว็บไซต์นั้นๆ ได้เลย
2. การใช้เครื่องมือค้นหา (Search  Engine)วิธีที่สองนี้เป็นการใช้เครื่องมือช่วยค้นหาที่มีอยู่ในอินเทอร์เน็ตนั่นคือ
Search Engineซึ่งเครื่องมือนี้จะใช้ในการค้นหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ตได้ โดยเราจะต้องป้อนคำหลักหรือคำสำคัญที่เกี่ยวข้อง
กับข้อมูลที่ต้องการค้นหา  เราเรียกว่า  Keyword เข้าไปใน Search  Engine ก็จะใช้ช่วยทำการค้นหาว่ามีในเว็บไซต์ใดบ้าง

การสืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต
การค้นหาข้อมูลมีกี่วิธี ?
1. การค้นหาในรูปแบบ Index Directory
2. การค้นหาในรูปแบบ Search Engine
การค้นหาในรูปแบบ Index Directory
     วิธีการค้นหาข้อมูลแบบ Index นี้ข้อมูลจะมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยมากกว่าการค้นหาข้อมูลด้วย วิธีของ Search Engine โดยมันจะถูกคัดแยกข้อมูลออกมาเป็นหมวดหมู่ และจัดแบ่งแยก Site ต่างๆออก เป็นประเภท สำหรับวิธีใช้งาน คุณสามารถที่จะ Click เลือกข้อมูลที่ต้องการจะดูได้เลยใน Web Browser จากนั้นที่หน้าจอก็จะแสดงรายละเอียดของหัวข้อปลีกย่อยลึกลงมาอีกระดับหนึ่ง ปรากฏขึ้นมาให้เราเลือกอีก ส่วนจะแสดงออกมาให้เลือกเยอะแค่ไหนอันนี้ก็ขึ้นอยู่กับขนาดของฐานข้อมูลใน Index ว่าในแต่ละประเภท จัดรวบรวมเก็บเอาไว้มากน้อยเพียงใด เมื่อคุณเข้าไปถึงประเภทย่อยที่คุณสนใจแล้ว ที่เว็บเพจจะแสดงรายชื่อของเอกสารที่เกี่ยวข้องกับ ประเภทของข้อมูลนั้นๆออกมา หากคุณคิดว่าเอกสารใดสนใจหรือต้องการอยากที่จะดู สามารถ Click ลงไปยัง Link เพื่อขอเชื่อต่อทางไซต์ก็จะนำเอาผลของข้อมูลดังกล่าวออกมาแสดงผลทันที นอกเหนือไปจากนี้ ไซต์ที่แสดงออกมานั้นทางผู้ให้บริการยังได้เรียบเรียงโดยนำเอา Site ที่มีความเกี่ยว ข้องมากที่สุดเอามาไว้ตอนบนสุดของรายชื่อที่แสดง
การค้นหาในรูปแบบ Search Engine
     วิธีการอีกอย่างที่นิยมใช้การค้นหาข้อมูลคือการใช้ Search Engine ซึ่งผู้ใช้ส่วนใหญ่กว่า 70% จะใช้วิธีการค้นหาแบบนี้ หลักการทำงานของ Search Engine จะแตกต่างจากการใช้ Indexลักษณะของมันจะเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่มหาศาลที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป บน Internet ไม่มีการแสดงข้อมูลออกมาเป็นลำดับขั้นของความสำคัญ การใช้งานจะเหมือนการสืบค้นฐานข้อมูล อื่นๆคือ คุณจะต้องพิมพ์คำสำคัญ (Keyword) ซึ่งเป็นการอธิบายถึงข้อมูลที่คุณต้องการจะเข้าไป ค้นหานั้นๆเข้าไป จากนั้น Search Engine ก็จะแสดงข้อมูลและ Site ต่างๆที่เกี่ยวข้องออกมา
คำแนะนำการใช้ google
ทำความรู้จัก Google
กูเกิล คือเว็บไซต์ที่ให้บริการค้นหาข้อมูลเว็บอื่นๆ หรือที่เราเรียกว่า Search Engine ปัจจุบัน กูเกิล ยังครองใจผู้ใช้อินเตอร์เน็ตทั่วโลกอย่างมาก เพราะจากสถิติ กูเกิลเป็นเว็บค้นหาที่มีผุ้ใช้งานมากที่สุดในโลกตัวหนึ่ง นอกเหนือจาก Yahoo! และ Bing
ทำไมต้อง Google
สาเหตุหลักๆ น่าจะมาจาก การค้นหาได้รวดเร็ว และได้ผลลัพธ์ที่น่าพอใจมาก ไม่ว่าเราจะค้นหาคำใดๆ รูปภาพ หรือวีดีโอ หรือแม้กระทั่งคำถามต่างๆ ก็สามารถค้นหาได้เช่นกัน แถมรวดเร็วและค่อนข้างแม่นยำมากๆ อีกด้วย และนอกจากบริการค้นหาเว็บไซต์แล้ว ยังไม่บริการอื่นๆ เสริมให้น่าใช้งานมากยิ่งขึ้นอีก เช่น ค้นหารูปภาพ ค้นหาสถานที่ เป็นต้น แล้วอย่างนี้ คุณจะรักกูเกิลได้ไง !

เริ่มต้นค้นหาเว็บด้วย Google
1.            เข้าไปยังเว็บ www.google.com หรือ www.google.co.th? ปกติแล้วจะพาเราเข้าไปที่ google.co.th เพราะว่าเราใช้อินเตอร์เน็ตในประเทศไทย (กูเกิล เขาสามารถตรวจสอบได้)
2.            พิมพ์คำที่ต้องการค้นหาในช่องว่าง? เช่นคำว่า ?ไอที? เป็นต้น (ไม่ต้องใส่เครื่องหมาย ??)
3.            กดปุ่ม ?ค้นหาด้วย Google?
4.            แค่นี้ก็จะได้ผลลัพธ์ตามที่คุณใส่ไว้แล้ว
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
electronic mai
ความหมาย
ใช้ตัวย่อว่า e-mail หมายถึงการสื่อสารหรือการส่งข้อความ โน้ต หรือบันทึกออกจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ผ่านไปเข้าเครื่องปลายทาง (terminal) หรือเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งโดยส่งผ่านทางระบบเครือข่าย (network) ผู้ส่งจะต้องมีเลขที่อยู่ (e-mail address)ของผู้รับ และผู้รับก็สามารถเปิดคอมพิวเตอร์เรียกข่าวสารนั้นออกมาดูเมื่อใดก็ได้ โดยปกติ จะไม่มีการพิมพ์ข้อความหรือข่าวสารนั้นลงแผ่นกระดาษ นับว่าเป็นการประหยัดกระดาษไปได้ส่วนหนึ่ง โดยทั่วไป ถือกันว่าเป็นงานส่วนหนึ่งของสำนักงานอัตโนมัติ (office automation) ปัจจุบันได้รับความนิยมเป็นอันมาก

กระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์
 (อังกฤษ: Bulletin Board System) หรือ บีบีเอส (BBS)
 เป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่รันซอฟต์แวร์ที่อนุญาตให้ผู้ใช้หลาย ๆ คน ใช้คอมพิวเตอร์และโปรแกรมเทอร์มินัลติดต่อเข้าไปในระบบ ผ่านทางโมเด็มและสายโทรศัพท์. โดยในระบบจะมีบริการต่าง ๆ ให้ใช้ เช่น ระบบส่งข้อความระหว่างผู้ใช้ (คล้าย จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ในอินเทอร์เน็ตปัจจุบัน แต่รับส่งได้เฉพาะภายในระบบเครือข่ายสมาชิกเท่านั้น) ห้องสนทนา บริการดาวน์โหลดซอฟต์แวร์ และกระดานแจ้งข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ เป็นต้น
บีบีเอสส่วนใหญ่เปิดให้บริการฟรี โดยสมาชิกจะสามารถเข้าใช้ระบบได้แต่ละวันในระยะเวลาจำกัด บีบีเอสมักจะดำเนินการในรูปของงานอดิเรกของผู้ดูแลระบบ หรือที่เรียกกันว่า ซิสอ็อป (SysOp จากคำว่า system operator)
บีบีเอสส่วนในเมืองไทยมีขนาดเล็ก มีคู่สายเพียง 1 หรือ 2 คู่สายเท่านั้น บางบีบีเอสยังอาจเปิดปิดเป็นเวลาอีกด้วย บีบีเอสขนาดใหญ่ที่ได้รับความนิยมมากในสมัยก่อนได้แก่ ManNET ซึ่งมีถึง 8 คู่สายและเปิดบริการตลอด 24 ชม. ManNET ดำเนินการโดยแมนกรุ๊ป ผู้จัดทำนิตยสารคอมพิวเตอร์รายใหญ่ในยุคนั้น. นอกจากนี้ยังมีบีบีเอส CDC Net ของ กองควบคุมโรคติดต่อ (กองควบคุมโรค ในปัจจุบัน) ซึ่งเป็นบีบีเอสระบบกราฟิกรุ่นบุกเบิกของประเทศไทย
ในปัจจุบัน บีบีเอสมีบทบาทน้อยลงไปมาก เนื่องจากความแพร่หลายและข้อได้เปรียบหลายประการของ อินเทอร์เน็ต และ เวิลด์ไวด์เว็บ. ในประเทศญี่ปุ่น คำว่า บีบีเอส อาจจะใช้เรียกกระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์บนอินเทอร์เน็ตด้วย. แต่สำหรับเมืองไทยแล้ว นิยมเรียกกระดานข่าวเหล่านี้ว่า เว็บบอร์ด มากกว่า

ห้องสมุดแหล่งข้อมูล
1.  ความหมายของห้องสมุด 
            คำว่า  “ห้องสมุด”  มีคำใช้อยู่หลายคำ  ในประเทศไทยสมัยก่อนเรียกว่า  “หอหนังสือ”  ห้องสมุดตรงกับภาษาอังกฤษว่า  Library  มาจากศัพท์ภาษาละตินว่า  Libraria  แปลว่าที่เก็บหนังสือ  
                ห้องสมุด  คือ  สถานที่รวบรวมสรรพวิทยาการต่างๆ  ซึ่งได้บันทึกไว้ในรูปของหนังสือ  วารสาร  ต้นฉบับตัวเขียน  สิ่งตีพิมพ์อื่น ๆ  หรือโสตทัศนวัสดุ  และมีการจัดอย่างมีระเบียบเพื่อบริการแก่ผู้ใช้  ในอันที่จะส่งเสริมการเรียนรู้และความจรรโลงใจตามความสนใจ  และความต้องการของ แต่ละบุคคล  โดยมีบรรณารักษ์เป็นผู้จัดหา  และจัดเตรียมให้บริการแก่ผู้ใช้ห้องสมุด                
2.  ความสำคัญของห้องสมุด 
            ความสำคัญของห้องสมุด  การศึกษาไทยตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษามุ่งพัฒนาเยาวชนไทยให้  เก่ง  ดี  มีความสุขจากสังคมแห่งการเรียนรู้  ซึ่งเป็นสังคมคุณภาพที่สร้างคนให้ตระหนักถึงความสำคัญของการเรียนรู้  การสร้างนิสัยรักการอ่าน  และการแสวงหาแหล่งเรียนรู้  เพื่อนำความรู้ไปใช้ประโยชน์  ซึ่งปัจจุบันนี้เป็นยุคแห่งข้อมูลข่าวสาร  (Information  Age)  ผู้ที่สนใจจะศึกษาค้นคว้าให้เป็นผู้รอบรู้ในวิทยาการ  เชี่ยวชาญในงานวิชาชีพ  และทันสมัยต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ  นั้น  จำเป็นต้องพึ่งพาห้องสมุดเป็นอย่างยิ่ง  ห้องสมุดเป็นปัจจัยสำคัญสิ่งหนึ่งที่จะบ่งชี้ถึงความมีมาตรฐาน        ด้านการศึกษาของสถาบันการศึกษาแห่งนั้น ๆ ความสำคัญของห้องสมุดในแต่ละสถาบันการศึกษานั้น  อาจสรุปได้ดังนี้
            2.1  ห้องสมุดเป็นแหล่งรวมทรัพยากรสารสนเทศต่าง ๆ  เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ของสถาบันการศึกษาที่ผู้ใช้สามารถศึกษาค้นคว้าข้อมูลที่ต้องการได้ทุกสาขาวิชาที่มีการเรียนการสอน ในสถานศึกษา  เพื่อให้ครูอาจารย์ผู้สอน  และนักเรียนนักศึกษาเข้าค้นคว้าหาความรู้  เป็นสื่อกลาง        ในกระบวนการเรียนการสอน
            2.2  ห้องสมุดเป็นแหล่งที่ทุกคนสามารถเลือกศึกษาค้นคว้าได้โดยอิสระตามความสนใจ ของแต่ละบุคคล  เป็นแหล่งภูมิปัญญาของสังคม  อาจเป็นการค้นคว้าเพิ่มเติมเพื่อให้รอบรู้เข้าใจยิ่งขึ้น ในเนื้อหาวิชา  หรือเรื่องที่กำลังศึกษาอยู่  หรือเลือกอ่านสิ่งที่ตนสนใจ  ซึ่งโรเจอร์  เบคอน  นักปราชญ์ชาวอังกฤษกล่าวไว้ว่า การอ่านทำให้เป็นคนเต็มคนก่อให้เกิดการศึกษาอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง  ตอบสนองความต้องการในการแสวงหาความรู้เฉพาะบุคคล
            2.3  ห้องสมุดช่วยให้ผู้ใช้รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์  คนเรานั้นหากมีเวลาว่างก็ควรจะทำอะไรสักอย่างเพื่อให้คุ้มค่าเวลา  การใช้เวลาว่างของแต่ละคนแตกต่างกัน  เช่น  บางคนชอบนั่งเล่นเฉยๆ  ชมธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัว  บางคนชอบดูหนัง  บางคนชอบฟังเพลง  บางคนชอบ เดินซื้อของหรือบางคนอาจชอบคุย  แต่การใช้เวลาว่างที่คุ้มค่าที่สุดอย่างหนึ่งก็คือ  การอ่านหนังสือ  หยิบหนังสือดี ๆ  สักเล่มให้กับชีวิตอ่านแล้วทำให้ปัญญางอกงาม  เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม และยังช่วยให้ผู้ใช้ห้องสมุดพอใจที่จะอ่านหนังสือต่างๆ โดยไม่รู้จักจบสิ้นจากเล่มหนึ่งไปสู่อีกเล่มหนึ่ง
            2.4  ห้องสมุดช่วยให้ผู้ใช้มีความรู้ทันสมัย  ทันเหตุการณ์อยู่เสมอ  เพราะผู้ใช้ห้องสมุด เป็นประจำจะเป็นผู้ที่รู้ข่าวความเคลื่อนไหวทั้งภายในและภายนอกประเทศ
            2.5  ห้องสมุดช่วยให้ผู้ใช้มีนิสัยรักการอ่าน  การค้นคว้า  และใฝ่หาความรู้ด้วยตนเอง  เพราะห้องสมุดเป็นแหล่งบริการข้อมูล  ข่าวสาร  จัดให้มีบริการช่วยการค้นคว้า  และเสนอแนะการอ่านผู้ซึ่งสามารถขยายขอบเขตการอ่าน  การศึกษาค้นคว้าให้กว้างขวางออกไปได้มากขึ้นก่อให้เกิด การเรียนรู้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด  กระตุ้นให้รักการอ่านและการศึกษาค้นคว้า
            2.6  ห้องสมุดเป็นสมบัติของส่วนรวม  ซึ่งผู้ใช้บริการจะต้องรับรู้กฎระเบียบและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด  รับรู้ถึงสิทธิและหน้าที่ที่พึงมีพึงปฏิบัติต่อส่วนรวม  จึงเป็นการปลูกฝังความเป็นประชาธิปไตยในตัวบุคคลเป็นอย่างดี
            2.7  ห้องสมุดช่วยให้ผู้ใช้ห้องสมุดมีความเพลิดเพลิน  ซึ่งนับว่าเป็นการพักผ่อนทางอารมณ์ของผู้ใช้ห้องสมุดวิธีหนึ่งด้วย
3.  ประโยชน์ของห้องสมุด
            ห้องสมุดเป็นแหล่งที่จัดหา  รวบรวมทรัพยากรสารนิเทศ  อันจะก่อให้เกิดประโยชน์ ต่อตัวบุคคลและสังคมในด้านต่าง ๆ  ดังต่อไปนี้
            1.  ด้านการเรียนการสอน
            2.  ด้านการค้นคว้าวิจัยเพื่อให้เกิดความรู้ใหม่
            3.  ด้านศิลปวัฒนธรรม  (สะสมความคิด  วัฒนธรรม  มรดกของชาติ)
            4.  ด้านการดำรงชีวิต
            5.  ด้านเศรษฐกิจ (ช่วยประหยัดในการค้นหาความรู้  สร้างอาชีพให้คน)
            6.  ใช้ข้อมูลในการตัดสินใจได้อย่างถูกต้องเหมาะสม   
4.  องค์ประกอบของห้องสมุด
            ห้องสมุดจะดำเนินการอยู่ได้ต้องมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้
            4.1  สถานที่  สำหรับใช้จัดเก็บหนังสือและโสตทัศนวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ  และใช้ดำเนินงานในการจัดให้บริการแก่ผู้ใช้ได้อย่างสะดวก  ห้องสมุดอาจเป็นเพียงส่วนหนึ่งของอาคารหรือเป็นอาคารเอกเทศก็ได้  ขึ้นอยู่กับจำนวนของทรัพยากรสารนิเทศ  วัสดุอุปกรณ์  และผู้ใช้บริการว่ามีมากน้อยเพียงใด
            4.2   ทรัพยากรห้องสมุด ต้องมีจำนวนมากพอและใหม่ทันสมัยอยู่เสมอ  คัดเลือกให้เหมาะสมกับผู้ใช้  มีการจัดเก็บไว้อย่างเป็นระบบ  ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้สามารถเลือกใช้ค้นหาข้อมูลได้อย่างสะดวกรวดเร็ว  มีการดูแลรักษาให้อยู่ในสภาพดีและพร้อมที่จะใช้งานได้ตลอดเวลา
            4.3  บรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ห้องสมุดต้องมีบรรณารักษ์ วิชาชีพเป็นผู้ดำเนินการบริหารและจัดการให้การดำเนินงานห้องสมุดเป็นไปอย่าง มีประสิทธิภาพและมีเจ้าหน้าที่อื่น ๆ  เพียงพอที่จะช่วยในงานจัดหา  จัดเตรียมหนังสือให้ยืม  งานพิมพ์  งานจัดเก็บสิ่งพิมพ์  งานบริการ  และงานอื่น ๆ ของห้องสมุด
            4.4  งบประมาณ  ห้องสมุดต้องได้รับการจัดสรรงบประมาณเพียงพอสำหรับการจัดซื้อหนังสือและสื่ออื่น ๆ วัสดุอุปกรณ์  เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ  ในการจัดบริการของห้องสมุดและต้องได้รับงบประมาณอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี
5.  วัตถุประสงค์ของห้องสมุด 
            โดยทั่วไปการจัดบริการห้องสมุดจะมีวัตถุประสงค์โดยรวม  ดังนี้
            5.1  เพื่อการศึกษา  (Education)  การศึกษาในปัจจุบันมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  เพราะฉะนั้น การเรียนทุกระดับชั้นตั้งแต่อนุบาล  ประถมศึกษา  มัธยมศึกษาจนถึงอุดมศึกษา  ผู้เรียนจึงจำเป็นต้องศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากทรัพยากรสารสนเทศต่าง ๆ  ในห้องสมุดเพื่อให้เกิดความรู้อย่างกว้างขวาง  ละเอียดลึกซึ้งยิ่งขึ้น  ส่วนการศึกษานอกระบบหรือผู้ที่ไม่ได้ศึกษาถึงขั้นสูงสุดก็สามารถใช้ห้องสมุดเป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าเพื่อพัฒนาตนเอง  พัฒนาอาชีพได้ตลอดชีวิต  เพราะห้องสมุดเปรียบเสมือนห้องเรียนขนาดใหญ่ที่ผู้ใช้สามารถเข้าไปค้นหาคำตอบที่ต้องการได้
            5.2  เพื่อให้ความรู้  ข้อมูล  ข่าวสาร  (Information)  ห้องสมุดได้จัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศประเภทหนังสือพิมพ์  วารสาร  นิตยสาร  ในทุกสาขาวิชาเพื่อให้ผู้ใช้ติดตามข่าว  ความเคลื่อนไหวของเหตุการณ์ปัจจุบัน  และความก้าวหน้าทางวิชาการในแต่ละสาขาวิชาชีพ  จึงเป็นการสนองความต้องการอย่างไม่มีที่สิ้นสุด  และห้องสมุดยังได้จัดหาทรัพยากรสารนิเทศที่ดีและใหม่ทันสมัยอยู่ตลอดเวลามาไว้ให้บริการ  ผู้ใช้จึงได้ทั้งความรู้และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  อีกทั้งยังสามารถติดตามข่าวความเคลื่อนไหวและเหตุการณ์ต่างๆ  ที่เกิดขึ้นทั้งในประเทศและนอกประเทศทั่วโลก
            5.3  เพื่อการค้นคว้าวิจัย  (Research)  ห้องสมุดเป็นสถานที่จัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศประเภทสถิติ  รายงานการวิจัยและหนังสืออ้างอิง  เพื่อที่จะอำนวยความสะดวกต่อการค้นคว้าวิจัย ของนักวิจัยในสาขาต่าง ๆ  ซึ่งได้จัดหา  รวบรวมสารนิเทศที่เกี่ยวข้องกับโครงการ  โครงงาน  ผลการค้นคว้าวิจัยที่เกิดขึ้นใหม่  และสิ่งประดิษฐ์ทั้งหลายที่มีผู้จัดทำไว้แล้ว  ไว้สำหรับให้ผู้ที่สนใจ นักการศึกษา  นักวิจัยได้ศึกษาค้นคว้า  และส่งเสริมให้เกิดงานค้นคว้าวิจัยชิ้นใหม่ ๆ  เกิดความเจริญก้าวหน้าทางวิชาการในสาขาต่าง ๆ  เพื่อเป็นการเสริมสร้างความงอกงามทางด้านวิชาการต่อไป ในอนาคต
            5.4  เพื่อให้เกิดความจรรโลงใจ  (Inspiration)   ทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุดนอกจาก  จะให้ความรู้ทางวิชาการแล้ว  ยังได้รวบรวมสะสมความรู้สึกนึกคิดที่สร้างสรรค์ความดีงาม  ซึ่งได้แก่  ทรัพยากรสารสนเทศประเภท  ปรัชญา  จิตวิทยา  ศิลปะ  ศาสนา  วรรณคดี  บทประพันธ์ต่างๆ  ชีวประวัติ  สารคดีท่องเที่ยว  ซึ่งเมื่อผู้อ่านได้อ่านแล้วจะทำให้เกิดความสุขทางใจ  เกิดความรู้สึก ชื่นชมและประทับใจในความคิดที่ดีงาม  เกิดความซาบซึ้งประทับใจในเรื่องราวที่อ่าน  มองเห็นคุณค่าของความดีงาม  ได้คติชีวิตจนสามารถยกระดับจิตใจและเกิดการพัฒนาตนเองไปในทางที่ดีมีความสำเร็จในชีวิตอันเป็นประโยชน์ต่อบุคคลและสังคม
            5.5  เพื่อนันทนาการหรือพักผ่อนหย่อนใจ  (Recreation)  ทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุดนั้นนอกจากจะมีเนื้อหาทางด้านวิชาการแล้วยังมีหนังสือประเภทนวนิยาย  เรื่องสั้น  นิตยสาร  เพื่อให้ผู้อ่านได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลิน  และห้องสมุดยังได้จัดหาสื่อที่เรียกว่า  Edutainment               (สื่อที่ให้ทั้งความรู้  ความคิด  การศึกษาด้านวิชาการ  และความบันเทิงไปพร้อม ๆ กัน)  เพื่อให้ผู้ใช้ห้องสมุดได้รับความสุข  ความเพลิดเพลินจากการอ่าน  การดูและการฟัง  เช่น  วีดิทัศน์  ฟังเพลง ดูหนังสารคดี  ดูการ์ตูน  ดูภาพล้อ  เป็นต้น
Digital Library ห้องสมุดบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์
           Digital Library (ห้อง สมุดอิเล็กทรอนิกส์)  หมายถึง  การจัดเก็บสารสนเทศในรูปของสื่ออิเล็กทรอนิกส์  แทนที่จะจัดเก็บในรูปของสื่อพิมพ์  ขณะนี้ได้เริ่มมีการใช้วิธีการเช่นนี้แล้ว  แต่คงต้องรออีกนานทีเดียวกว่าที่ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์จะสามารถแทนที่ห้อง สมุดแบบดั้งเดิม หรือ แม้แต่เพียงจะสามารถมีบทบาทเทียบเคียง กับห้องสมุดแบบดั้งเดิม  ที่เป็นเช่นนี้เพราะมีเหตุผลหลายประการ  ประการแรก  สิ่งพิมพ์ที่มีอยู่แล้วมีเป็นจำนวนมาก  หากจะนำมาดิจิไทซ์  (digitize) หรือแปลงเป็นสารสนเทศแบบดิจิทัล  ก็ต้องลงทุนลงแรงมหาศาลประการที่สอง  ผู้ใช้สารสนเทศส่วนใหญ่ในยุคปัจจุบัน  ยังคุ้นเคยกับการอ่านหนังสือมากกว่าการอ่านจากจอคอมพิวเตอร์  แต่เรื่องนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้  เมื่อคนรุ่นใหม่ที่คุ้นเคยกับการใช้คอมพิวเตอร์มีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ และพัฒนาการของจอคอมพิวเตอร์ทำให้อ่านได้สบายตามากขึ้น สามารถอ่านได้ครั้งละนานๆ มากขึ้น ประการที่สาม ปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์ และวิธีการจัดการกับปัญหานี้  ในกรณีที่ต้องการแปลงสิ่งพิมพ์ที่มีอยู่เป็นสารสนเทศแบบดิจิทัลเพื่อนำออกเผยแพร่  ยังไม่มีกฎหมายหรือหลักการที่เป็นสากลว่าด้วยเรื่องนี้   หากยังต้องอาศัยการตกลงกันเองระหว่างคู่กรณีเป็นรายๆ ไป ก็จะเป็นอุปสรรคอย่างใหญ่หลวง  อย่างไรก็ตามการแปลงสิ่งพิมพ์เป็นสารสนเทศดิจิทัลนั้น  เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องทำ  เพื่อการอนุรักษ์สิ่งพิมพ์เก่าๆไว้เอกสารที่เป็นกระดาษนั้น  หากจัดเก็บถูกวิธีอาจสามารถอยู่ได้นับพันปี  เช่น  เอกสารที่ทำด้วยกระดาษปาปิรัส สมัยอียิปต์หรือบาลิโลเนียยังมีหลงเหลือให้เห็นได้ตามพิพิธภัณฑ์ใหญ่ๆ  ของโลก  แต่ในความเป็นจริงแล้ว  หนังสือหรือเอกสารที่เป็นกระดาษจะมีอายุใช้งานเพียง  100 -  200 ปีเป็นอย่างมาก  ตัวอย่างเช่น  หนังสือเรื่อง  The Pilgrim Kamanita  ซึ่งเป็นต้นฉบับภาษาอังกฤษที่เสถียรโกศ  และนาคประทีป  นำมาแปลและเรียบเรียงเป็นฉบับภาษาไทย  ชื่อ กามนิต  วาสิฏฐี  นั้น ขณะนี้เหลืออยู่ที่  The British Museum ที่กรุงลอนดอนเพียงเล่มเดียวเท่านั้น  และอยู่ในสภาพถูกเก็บตาย  เพราะกระดาษกรอบหมดแล้ว นำมาเปิดอ่านไม่ได้ เอกสารทำนองนี้ยังมีอีกเป็นจำนวนมาก และต้องหาวิธีอนุรักษ์ไว้ให้ได้เพราะเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่า  และบางอย่างเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญ วิธีอนุรักษ์วิธีหนึ่ง คือ การนำมากราดตรวจ  หรือ  ถ่ายภาพหน้าต่อหน้า แล้วบันทึกใส่ซีดีรอม  (CD-ROM) ไว้  อย่างไรก็ตามซีดีรอมเองก็ไม่ได้มีอายุยืนยาวมากมายนัก  เชื่อกันว่าสามารถจะเก็บได้นาน 30 50 ปี เท่านั้น  แต่ถ้ามีการทำสำเนาก่อนที่ซีดีรอมแผ่นนั้นจะหมดอายุ ก็สามารถเก็บไปได้ตลอด  เพราะการทำสำเนาข้อมูลดิจิทัลนั้นจะได้สำเนาที่มีคุณภาพเท่าต้นฉบับดิจิทัล ไม่มีการเสื่อมลงทุกครั้งที่ทำสำเนาเหมือนระบบอนาลอค  ดังนั้น ห้องสมุดดิจิทัลจะสามารถให้บริการเอกสารสิ่งพิมพ์ต่างๆ   ที่มีอายุมากๆได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น